วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

สมาชิกกลุ่ม

สมาชิกกลุ่มทักษะการเล่าเรื่อง


  
                                             น.ส.เปรมวดี     คชพิมพ์  รหัส 51125260118 


                                             นายจักรพันธุ์   วงษ์ท้าว  รหัส  51125260141

                                     
                                           น.ส.ปิยะวรรณ  ศรีเงินงาม  รหัส 51125260143



                                             น.ส.กรกวรรณ  วงษ์ท้าว  รหัส  51125260212


                                               น.ส.สุกฤตยา  อินศร  รหัส  51125260217


                                           น.ส.ชลธิชา  ดาราศาสตร์  รหัส  51125260221

ทฤษฎี ทักษะการเล่าเรื่อง

ทักษะการเล่าเรื่อง
จุดมุ่งหมายในการเล่นนิทาน
                                นิทานและวิธีเล่านิทานเป็นกิจกรรมการสอนวิธีหนึ่งที่นักการศึกษาให้ความสนใจที่ศึกษาค้นคว้า  และยอมรับว่านิทานมีความสำคัญต่อเด็ก  การเล่านิทานจึงนำไปใช้เพื่อประโยชน์ในเรื่องต่อไปนี้
1.   สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียนให้เกิดความสนิทสนม  ใกล้ชิด  เกิดขึ้นในขณะเล่า
นิทาน  ซึ่งจะส่งผลไปถึงการปกครองเด็กและเข้าใจเด็ก
2.  ช่วยให้เด็กมีความสุขทางกายและใจเมื่อเด็กรู้สึกเหนื่อยหรือเบื่อในการทำกิจกรรมต่าง ๆ  มา
ครูอาจเล่านิทานให้เด็กฟัง
3.   ช่วยปรับเปลี่ยนทัศนคติไม่ดีบางประการให้แก่เด็ก  เช่น ในเรื่องของความเชื่อ ความกลัว ที่เด็กได้รับการปลูกฝังหรือฝึกมาแบบผิด ๆ
4.  ใช้ปลูกฝังคุณธรรมต่าง ๆ  ให้แก่เด็ก
5.   ใช้ในการพัฒนาทางภาษาทั้งด้านการฟัง  การพูด  การอ่านและการเขียน
6.   เสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดีให้แก่เด็ก  กล่าวคือใช้ในการฝึกฝนให้เด็กรู้จักแสดงออก  มีความกล้า  มั่นใจในการแสดงท่าทางประกอบการแสดง  และการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ฟัง
7.  ใช้ในการประกอบการสอนทุกกลุ่มวิชา  และทุกขั้นตอน

การเลือกนิทาน                                ผู้เล่าหรืออ่านนิทานให้เด็กฟัง จะต้องเลือกนิทานให้เป็น เพราะนิทานที่มีอยู่ทั้งหมด ไม่ใช่ว่าเด็กจะชอบทุกเรื่อง การเลือกนิทานควรพิจารณาสิ่งต่างๆดังต่อไปนี้
1.   นิทานเรื่องนั้นสนองความต้องการของเด็กได้มากน้อยเพียงไร
2.   เรื่องเล่าควรจะเลือกให้เหมาะกับวัยต่างๆของเด็ก
3.   เวลาที่ใช้ในการเล่าควรจะเหมาะสมกับช่วงระยะเวลาความสนใจและสมาธิในการฟังของ
เด็กวัยต่างๆ
4.   เนื้อหาจะต้องมีสาระค่านิยม ความคิดสร้างสรรค์ ส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม
5.   มีเนื้อเรื่องสนุกสนานชวนติดตาม กระตุ้นจินตนาการของเด็ก
6.   เป็นวรรณกรรมที่ดีทั้งโครงเรื่อง ลักษณะที่เด่นของตัวละคร การใช้ภาษาที่สร้างสรรค์
7.  ไม่ควรสร้างความขบขันบนความเจ็บปวดของคนอื่น และไม่ใช้ภาษาหรือปฏิบัติต่อเด็กใน
เชิงตำหนิติเตียนหรือดูหมิ่น
                8.   กล่าวถึงอารมณ์มนุษย์อย่างระมัดระวัง เสนอแนะวิธีการที่สร้างสรรค์แก่เด็กในการเผชิญกับ
ความยากลำบากต่างๆ
การเตรียมตัวก่อนเล่านิทาน
                                ผู้เล่านิทานเมื่อเลือกเรื่องของนิทานให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟังและพอใจกับเนื้อเรื่องแล้ว ผู้เล่าจะต้องนำนิทานที่จะเล่ามาจัดเตรียมให้พร้อมก่อนจะดำเนินการเล่าดังนี้
                 1.  ผู้เล่าจะต้องอ่านทบทวนเรื่องราวที่ผู้เล่าเลือกมา ให้เกิดความคุ้นเคย เข้าใจ และรู้จักเรืองที่เลือกมาได้เป็นอย่างดี เพื่อจะได้เกิดความราบรื่นตลอดขณะดำเนินการเล่า
                 2.  ขั้นตอนการเล่า ผู้เล่าจะต้องพิจารณาในการนำเสนอการขึ้นต้นเรื่อง การเล่าเรื่องต่อเนื่องจนถึงกลางเรื่อง และการจบเรื่องให้ชัดเจน และน่าสนใจตามลักษณะเฉพาะของผู้เล่า
                 3.  สื่อวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่า ผู้เล่าจะต้องเตรียม และทดลองใช้ให้เกิดความชำนาญ และจัดระบบการใช้ตามลำดับก่อนหลัง
                 4. 
กิจกรรมประกอบการเล่านิทาน ผู้เล่าจะต้องเตรียมให้พร้อมและจะต้องเหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟัง เช่น การร้องเพลงซ้ำๆ และง่าย คำพูดซ้ำๆ และง่าย การร้องขอให้ผู้ฟังมาช่วยร่วมแสดงหรือทำกิจกรรมด้วยขณะดำเนินการเล่า
                 5.  สถานที่เล่า ผู้เล่าจะต้องพิจารณาตามความเหมาะสมให้พอดีกับกลุ่มผู้ฟังเพราะ ผู้เล่าจะต้องจัดเตรียมสื่อให้พอเหมาะกับการมองเห็น และการฟังของผู้เล่า

วิธีเล่านิทาน
         
การเล่านิทานแบ่งได้  5  วิธีได้แก่
                 1.  เล่าปากเปล่า
                 2.  เล่าโดยใช้หนังสือประกอบ
                 3.  เล่าโดยใช้ภาพประกอบ
                 4.  เล่าโดยใช้สื่อใกล้ตัว
                 5.  เล่าโดยใช้ศิลปะเข้าช่วย
1.  เล่าปากเปล่า ผู้เล่าต้องเตรียมตัวให้พร้อมเสมอ เพราะจุดสนใจของเด็กที่กำลังฟังนิทานจะอยู่ที่ผู้เล่าเท่านั้น วิธีเตรียมตัวในการเล่านิทานมีดังนี้
1.1  เตรียมตัวด้านเนื้อหาของนิทาน
                       -  อ่านนิทานที่จะเล่าและทำความเข้าใจกับนิทานเสียก่อน
                       -  จับประเด็นนิทานให้ได้ว่า นิทานที่จะเล่าให้อะไรแก่เด็กที่ฟัง
                       -  แบ่งขั้นตอนของนิทานให้ดี
                       -  การนำเสนอขั้นตอนของนิทานในขณะที่เล่า ไม่จำเป็นต้องเหมือนกับที่อ่านเสมอไป
                       -  เพิ่มหรือลดตัวละครเพื่อความเหมาะสมในการเล่า
ที่สำคัญผู้เล่าต้องสามารถปรับนิทานให้สอดคล้องกับความสนใจของเด็กได้ด้วย เพราะถ้าเห็นว่าเด็กกำลังสนุกสนานก็เพิ่มเนื้อหาเข้าไปได้
                        
                1.2 น้ำเสียงที่จะเล่า                                       ผู้เล่าต้องมีน้ำเสียงที่น่าฟัง ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นเสียงที่ไพเราะ และที่สำคัญที่สุดคือการเว้นจังหวะ การเน้นเสียงให้ดูน่าสนใจ ไม่ควรให้น้ำเสียงราบเรียบมากเกินไป เสียงเบา-เสียงหนัก พูดเร็ว-พูดช้า ก็เป็นการบ่งบอกอารมณ์ของนิทานได้เช่นกัน
                                1.3  บุคลิกของผู้เล่านิทานต่อหน้าเด็กจำนวนมาก
                                  ต้องมีบุคลิกที่น่าสนใจสำหรับเด็กคือ
                                       -  ไม่นิ่งจนเกินไป
                       -  ไม่หลุกหลิกจนเกินไป
                               -  ต้องมีการเคลื่อนไหวท่าเหมาะสมกับเนื้อหาของนิทาน
                                 -  มีการแสดงท่าทางที่เหมาะสมกับเนื้อหาของนิทานอย่างพอเหมาะพอเจาะ
                                -  มีท่าที่ผ่อนคลายและดูเป็นกันเองกับเด็กๆ
                                1.4  เสื้อผ้าที่สวมใส่
                                  ต้องเป็นเสื้อผ้าที่มั่นใจในการเคลื่อนไหว
                                1.5  บรรยากาศในการฟังนิทาน
                                  ต้องไม่วุ่นวายจนเกินไป อยู่ในสถานที่ที่สามารถสร้างสมาธิสำหรับคนฟังและคนเล่าได้เป็นอย่างดี
                2.  เล่าโดยใช้หนังสือประกอบการเล่า การใช้หนังสือประกอบการเล่านี้ หมายถึงการใช้หนังสือที่มีภาพประกอบ ผู้ที่จะใช้หนังสือภาพต้องมีการเตรียมตัวดังนี้
                           2.1  อ่านนิทานให้ขึ้นใจ เวลาเล่าจะได้เปิดหนังสือภาพให้สัมพันธ์กับเรื่องที่เล่า
                           2.2  ศึกษาความหมายของสีที่ใช้ประกอบภาพ เพราะหนังสือสำหรับเด็กมักจะใช้สีเป็นสื่ออารมณ์ของเรื่องด้วย
                           2.3  ศึกษาภาพประกอบที่เป็นปกหน้าปกหลัง เพราะบางเรื่องตอนเริ่มเรื่องอยู่ที่หน้าปก และตอนจบอยู่ที่ปกหลังก็มี
                           2.4  การถือหนังสือ ต้องอยู่ในตำแหน่งที่ผู้ฟังสามารถมองเห็นภาพประกอบได้อย่างทั่วถึง ถ้าผู้ฟังนั่งเป็นรูปครึ่งวงกลม ต้องมีการยกภาพให้มองเห็นทั่วทั้งหมด     

VDO ทักษะการเล่าเรื่อง

อ้างอิง

กิ่งแก้ว อัตถากร. (2519). คติชนวิทยา. เอกสารนิเทศการศึกษา ฉบับที่ 184. กรุงเทพมหานคร : หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครู. (2514). วรรณกรรมจากบ้านใน. เอกสารนิเทศการศึกษา ฉบับที่ 113. กรุงเทพมหานคร : หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครู.
กุหลาบ มัลลิกะมาส. (2518). คติชาวบ้าน. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เจือ สตะเวทิน. (2517). คติชาวบ้านไทย. กรุงเทพฯ : สุทธิสารการพิมพ์.

ประคอง นิมมานเหมินทร์. (2543). นิทานพื้นบ้านศึกษา. กรุงเทพมหานคร : โครงการตำรา และอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประยูร ทรงศิลป์. (2542). การศึกษาวิเคราะห์ตำนานและนิทานพื้นบ้านเขมรภาคที่ 1-9. กรุงเทพฯ : ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏธนบุรี.

เรไร ไพรวรรณ์. (2551). วรรณกรรมท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร : โครงการผลงานวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี

ศิราพร ฐิตะฐาน. (2523). ทฤษฎีการแพร่กระจายของนิทาน. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

สุมามาลย์ พงษ์ไพบูลย์. (2542). คติชนวิทยา. กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏพระนคร.

http://www.thaifolk.com/Doc/literate/tales/factor.htm